การตั้งค่าตัดตก (หรือค่า Bleed) จะแตกต่างกันไปในแต่ละโปรแกรมที่ใช้งานนะครับ  โปรแกรมส่วนใหญ่ที่ถูกออกแบบมาเพื่องานสิ่งพิมพ์มักจะมีฟังก์ชั่นสำหรับการ set ค่าตัดตกนี้ไว้อยู่แล้ว  แต่บางโปรแกรมก็ไม่มี  นักออกแบบจะต้องเป็นคนทำเองทั้งหมด  โดยหลัก ๆ โปรแกรมที่เรามักจะใช้งานเพื่อการออกแบบสิ่งพิมพ์ก็มักจะไม่พ้น 3 โปรแกรมหลักจากค่าย Adobe  นั่นก็คือ Illustrator  InDesign และ Photoshop นั่นเองครับ  โดยทั้ง Illustrator และ InDesign ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับการออกแบบสิ่งพิมพ์โดยตรงจะมีฟังก์ชั่นสำหรับ Bleed ไว้อยู่แล้ว  แต่ Photoshop ไม่มี  เพราะเป็นโปรแกรมเอาไว้แต่งภาพมากกว่าที่จะมาทำสิ่งพิมพ์ครับ  ซึ่งในบทความนี้  จะมาว่าถึงวิธีการตั้งระยะตัดตกสำหรับหนังสือ งานไดคัท สติ๊กเกอร์ กล่องบรรจุภัณฑ์  หรืองานที่ซับซ้อนอื่น ๆ ด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ครับ

วิธีการ Set ระยะตัดตกใน Adobe Illustrator

สำหรับการตั้งค่าตัดตกใน Illustrator มีได้ 2 วิธีคือ  ตั้งค่าจากการสร้าง artboard ใหม่เลย  กับตั้งค่าจาก artboard ที่ทำงานอยู่แล้วแต่ยังไม่มีตัดตก

ในกรณีที่เริ่มสร้างงานใหม่เลย  ให้นักออกแบบตั้งค่าดังนี้

การตั้งค่าหน้ากระดาษ Illustrator ส่งโรงพิมพ์

1. ตั้งค่าหน้า Artboard (Width x Height) ให้เหมาะสมกับขนาดที่ต้องการพิมพ์ ตัวอย่างเช่น

  • ขนาดงานพิมพ์ A4 : W = 210 mm / H = 292 mm
  • ขนาดงานพิมพ์ A5 : W = 145 mm / H = 210 mm
  • ขนาดงานพิมพ์ A6 : W = 100 mm / H = 145 mm
  • ขนาดงานพิมพ์ B5 : W = 182 mm / H = 257 mm

2. Set ระยะ Bleed (ระยะตัดตก หรือระยะเผื่อเจียน) โดยรอบ 3 มม.   อย่าลืมที่จะเช็คดูด้วยว่า  ระบบสีเป็นระบบ CMYK หรือไม่  พร้อมด้วยตั้งค่า Raster Effects ไว้ที่ 300 ppi  (โดยทั่วไปโปรแกรมจะตั้งไว้ให้อยู่แล้ว เรามักจะไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม)

ในกรณีที่เป็นงานที่ซับซ้อน  หรืองานไม่ได้มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม  (เช่น งาน packaging งานกล่อง  งานที่มีการไดคัท)  ให้นักออกแบบเซ็ตให้ artboard ใหญ่กว่าเนื้องานไว้เท่าไหร่ก็ได้  โดยที่ไม่ต้องสนใจเรื่องการเซ็ต bleed 3 มม. อีก  เพราะกรณีนี้เราจะใช้ artboard เป็นพื้นที่วางรูปเฉย ๆ ครับ  จะต้องไปทำตัดตกแบบ manual แทน  ซึ่งจะอธิบายอีกทีในลำดับถัดไป   ส่วนขนาดงานพิมพ์อื่น ๆ ถ้านักออกแบบสงสัย  สามารถสอบถามจากโรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. เป็นกรณีไปครับ

ในกรณีที่ต้องการตั้งค่าตัดตกจากงานที่ทำค้างไว้อยู่แล้ว   สามารถทำได้ดังนี้

การตั้งระยะตัดตก (Bleed) จาก Document Setup

1. คลิกที่ปุ่ม Document Setup

2. Set bleed ไว้ 3 มม.

เมื่อทำตามขั้นตอนข้างต้นแล้ว  ก็จะได้ artboard ว่าง ๆ ประมาณนี้

Artboard เปล่า ๆ ที่มีการเซ็ตระยะตัดตกแล้ว

โดยเส้นที่เห็นในรูปสีดำคือขอบงานจริงเมื่อพิมพ์ออกมาสำเร็จเป็นรูปเล่ม  ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า Trim Mark  ส่วนเส้นสีแดง ๆ คือเส้นตัดตก (เส้น Bleed Mark) นั่นเองครับ  ในกรณีที่ทำตามขั้นตอนข้างต้นแล้ว  แต่ยังไม่เห็นเส้นสีแดง  แสดงว่านักออกแบบยังไม่ได้เปิดให้โปรแกรม Show Guide ครับ  ต้องเซ็ตให้ Illustrator แสดงเส้นไกด์ขึ้นมาก่อน  คลิกที่เมนูบาร์  View > Guides > Show Guides หรือกด shortcut  Ctrl + ;  ก็ได้ครับ

การเซ็ตให้ Illustrator แสดงเส้นไกด์

การออกแบบสำหรับงานทั่วไป

งานทั่วไปในที่นี้ยกตัวอย่างเช่น  งานปกหนังสือ  งานแผ่นพับ  โปสเตอร์  โบรชัวร์  โปสการ์ด  ที่คั่นหนังสือ  หรืองานใด ๆ ที่สามารถตัด 4 ด้านให้ออกมาเป็นสี่เหลี่ยมได้ นักออกแบบสามารถสร้าง artboard ที่มีเส้น bleed ขึ้นมา  แล้วเริ่มลงมือออกแบบได้เลย  เมื่อนักออกแบบทำการวางงานในหน้า artboard  นักออกแบบจะต้องวางกราฟฟิคทั้งหมดให้ถึงเส้น Bleed mark ด้วย  มาถึงตรงนี้ทางโรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. อยากเตือนความจำอีกทีนะครับว่า  เนื้อหาใด ๆ ที่อยู่เลยเส้น Trim mark (เส้นสีดำ) จะถูกตัดทิ้งทั้งหมด  ดังนั้น  การวางงานก็ต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย

การออกแบบงานให้ยื่นไปถึงระยะตัดตก

การออกแบบสำหรับงานพิเศษ

สำหรับงานที่มีความพิเศษขึ้นมา  เช่น  งานไดคัท  งานพิมพ์กล่อง กล่องบรรจุภัณฑ์ งานแพคเก็จจิ้ง Packaging  งานพิมพ์แฟ้มกระดาษ พิมพ์สติ๊กเกอร์ งานสติ๊กเกอร์ ฯลฯ ที่รูปร่างของงาน  ไม่ได้จำกัดอยู่แค่กรอบสี่เหลี่ยม ๆ ในกรณีนี้  artboard จะเป็นแค่พื้นที่วางงานเฉย ๆ นักออกแบบไม่ต้องสนใจว่าขนาด artboard จะเป็นเท่าไหร่นะครับ  ขอแค่ให้ใหญ่กว่างานก็พอ  ระยะตัดตกก็ไม่ต้อง set เพราะจะต้องทำแบบ manual เอง เช่น  งานกล่องตามภาพนี้

การตั้งระยะตัดตกสำหรับงานที่ซับซ้อน

จะเห็นว่า  ถึงแม้จะเป็นงานกล่อง  แต่ก็ต้องมีระยะตัดตกอยู่ดี  เพราะในขั้นตอนการนำไปไดคัท  ก็เหมือนกับการตัดเจียนรูปเล่ม  หากไม่ได้ออกแบบกราฟฟิคเผื่อไว้  อาจมีขอบขาว ๆ ปรากฎเข้าไปในเนื้องานได้ครับ  ซึ่งงานที่ซับซ้อนเช่นงานกล่องนี้  อาจจะต้องเผื่อระยะตัดตก 4-5 มม. เลยทีเดียว

งานอะไรบ้างที่ต้องทำตัดตก

งานพิมพ์กล่อง กล่องบรรจุภัณฑ์ งานแพคเก็จจิ้ง Packaging งานสติ๊กเกอร์ก็เช่นกัน  ถึงแม้จะมีรูปร่างทรงกลม  แต่ก็ต้องมีระยะตัดตกให้โรงพิมพ์อยู่ดีครับ  ซึ่งการ set ระยะตัดตกของงานแบบนี้จะเริ่มจาก  เส้นขอบของการไดคัทก่อน  ถ้านักออกแบบมีประสบการณ์หรือเคยพิมพ์งานลักษณะนี้มาแล้ว  ก็จะมี Template ที่เรียกว่าเส้นมีดไดคัทอยู่  แต่ถ้านักออกแบบไม่มีหรือทำไม่เป็น  สามารถขอความช่วยเหลือเรื่อง Template มีดไดคัทจากโรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. ได้ครับ  ตัวอย่างของ Template ไดคัท  มีหน้าตาแบบนี้ครับ

วิธีการสร้างระยะตัดตก  เริ่มจาก

การตั้งระยะตัดตกสำหรับงานที่ซับซ้อน

1. เลือกเส้น Path ขอบนอกของงาน  แล้วคลิกเมนูบาร์   Object > Path

2. เลือกคำสั่ง  Offset Path

การตั้งระยะตัดตกสำหรับงานที่ซับซ้อน

3. ใส่ค่า Offset 4 มม.  แล้วกด OK

การตั้งระยะตัดตกสำหรับงานที่ซับซ้อน

4. เมื่อกด OK แล้ว  ก็จะได้เส้นรอบนอกที่ใหญ่กว่าเดิมออกมา 4 มม. ด้วยกัน  ซึ่งเส้นนี้จะถูกใช้เป็นแนวระยะตัดตก  นักออกแบบก็มีหน้าที่วางงานกราฟฟิคให้ออกมาจรดเส้นนี้เป็นอันเสร็จสิ้นครับ

PostEndIcon